ปัญญาปารมิตาหฤทัยสูตร

มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (บทสวดมนต์ของพระโพธิสัตว์กวนอิม)

มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
(บทสวดมนต์ของพระโพธิสัตว์กวนอิม)
(สูตรหัวใจหรือสูตรที่เป็นหัวใจแห่งโลกุตรปัญญา)
(สูตรที่เป็นหัวใจแห่งปัญญาของการหลุดพ้น)
กวัน จื้อ ไจ้ ผู ซ่า
สิง เซิน ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ สือ
เจ้า เจี้ยน อู่ อวิ้น เจีย คง
ตู้ อี๋ เชี่ย ขู่ เอ้อ
เซ่อ ลี่ จื่อ
เซ่อ ปู๋ อี้ คง คง ปู๋ อี้ เซ่อ
เซ่อ จี๋ ซื่อ คง คง จี๋ ซื่อ เซ่อ
โซ่ว เสี่ยง สิง ซื่อ อี้ ฟู่ หยู ซื่อ
เซ่อ ลี่ จื่อ ซื่อ จู ฝ่า คง เซี่ยง
ปู้ เซิง ปู๋ เมี่ย
ปู๋ โก้ว ปู๋ จิ้ง
ปู้ เจิง ปู้ เจี่ยน
ซื่อ กู้ คง จง อู๋ เซ่อ
อู๋ โซ่ว เสี่ยง สิง ซื่อ
อู๋ เหยี่ยน เอ่อ ปี๋ เสอ เซิน อี้
อู๋ เซ่อ เซิง เซียง เว่ย ชู่ ฝ่า
อู๋ เอยี่ยน เจี้ย ไหน่ จื้อ อู๋ อี้ ซื่อ เจี้ย
อู๋ อู๋ หมิง
อี้ อู๋ อู๋ หมิง จิ้น
ไหน่ จื้อ อู๋ เหลา สื่อ
อี้ อู๋ เหลา สื่อ จิ้น
อู๋ ขู่ จี๋ เมี่ย เต้า
อู๋ จื้อ อี้ อู๋ เต๋อ
อี่ อู๋ สว่อ เต๋อ กู้
ผู๋ ถี ซ่า ตว่อ
อี ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตัว กู้
ซิน อู่ กว้า ไอ้
อู่ กว้า ไอ้ กู้
อู๋ โหยว ข่ง ปู้
เอวี่ยน หลี เตียน เต่า เมิ่ง เสี่ยง
จิ้ว จิ้ง เนี่ย ผัน
ซัน ซื่อ จู ฝอ
อี ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ กู้
เต๋อ อา โน่ว ตวอ หลัว ซัน เหมี่ยว ซัน ผู ถี
กู้ จือ ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ
ซื่อ ต้า เสิน โจ้ว
ซื่อ ต้า หมิง โจ้ง
ซื่อ อู๋ ซั่ง โจ้ว
ซื่อ อู๋ เติ๋ง เติ่ง โจ้ว
เหนิง ฉู อี๋ เชี่ย ขู่
เจิน สือ ปู้ ซวี
กู้ ซวอ ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ โจ้ว
จี๋ ซวอ โจ้ว เอวีย
เจีย ตี้ เจีย ตี้
ปวอ หลัว เจีย ตี้
ปวอ หลัว เซิง เจีย ตี้
ผู ถี ซ่า ผวอ เฮอ
(กราบ 3 ครั้ง)

ที่มา: ทีมงานเผยแพร่พระพุทธศาสนาจีนนิกายมหายานแต้จิ๋ว (ไต่จู้ไต่ปีกวนเส้อิมผ่อสักจี่เต็กลิ้มกวนอิมหยี่)

ปัญญาปารมิตาหฤทัยสูตร (แปลภาษาไทย)

ปัญญาปารมิตาหฤทัยสูตร
 
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
เมื่อได้ปฏิบัติซึ้งแล้วซึ่งปัญญาปารมิตา
เพ่งเห็นขันธ์ทั้ง ๕ มีความเป็นศูนย์
จึงข้ามพ้นสรรพทุกข์ทั้งปวงได้
สารีบุตร
รูปไม่อื่นไปจากศูนย์ ศูนย์ไม่อื่นไปจากรูป
รูปคือความศูนย์ ความศูนย์คือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน
สารีบุตร
ธรรมทั้งปวง มีความศูนย์เป็นลักษณะ
ไม่เกิดไม่ดับ ไม่มัวหมอง
ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่มไม่ลด
ฉะนั้น ในความศูนย์จึงไม่มีรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรม
ไม่มีจักษุธาตุ กระทั่งไม่มีมโนธาตุ
ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งอวิชชา
กระทั่งไม่มีความแก่ ความตาย
และก็ไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่ ความตาย
ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ไม่มีญาณ และก็ไม่มีการได้อะไร
เพราะไม่มีอะไรจะได้
พระโพธิสัตว์
ด้วยเหตุดำเนินตามปัญญาปารมิตา
จิตย่อมไม่ขัดข้อง
เพราะจิตไม่ขัดข้อง จึงไม่มีความสะดุ้งกลัว
ละจากความวิปลาสและความเพ้อฝัน
มีพระนิพพานเป็นที่สุด
พระพุทธเจ้าทั้งสามกาล
เนื่องด้วยดำเนินตามปัญญาบารมี
จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ฉะนั้น จึงทราบว่าปัญญาปารมิตา
เป็นมหาศักดามนตร์
เป็นมหาวิทยามนตร์
เป็นอนุตตรมนตร์
เป็นอสมสมมนตร์
สามารถดับสรรพทุกข์ได้
นี่เป็นสัจจะไม่ผิดพลาด
ฉะนั้น จึงประกาศปัญญาปารมิตามนตร์ ดังนี้
คติ คติ ปราคติ ปราสังคติ โพธิสวาหะ
 
ที่มา: หนังสือพ้นห้วงมหรรณพ - การพ้นทุกข์ของมหายาน

๑ ชื่อพระสูตร

๑ ชื่อพระสูตร

“หฤทัยสูตร” นี้ชื่อเต็มเรียกว่า
“ปัญญาปารมิตาหฤทัยสูตร”กล่าวโดยตรงถึง.....
การหลุดพ้นด้วยปัญญาเท่านั้น
คำว่า “ปัญญา” (จีนไม่ได้แปลคำปัญญา
แต่ใช้ทับศัพท์ออกเสียงว่า “ปัวะเย้”)
ไม่ใช่ปัญญาที่เราเข้าใจกัน
และก็ไม่มีคำอะไรที่จะแปลความหมายนี้ได้
ในที่นี้จะให้คำว่า.....“พุทธิปัญญา”
แทนเพื่อให้แตกต่างกับคำว่า
ปัญญาที่เราเข้าใจกัน


“ปัญญาที่เราเข้าใจกัน” คือความรู้
ส่วนความรู้นั้น คือ.....ปัญญาที่เป็นโมหะและเป็นความโง่เขลา
ฉะนั้น ปัญญาที่ไม่ถูกต้องนี้ ย่อมไม่สามารถเห็นซึ้งในสัจธรรม
ซ้ำพาให้เกิดความกลัดกลุ้มและความโง่
ไม่เป็นเหตุให้เข้าใจต่อสรรพธรรม
พระพุทธองค์ได้ปรับความรู้มาเป็นพุทธิปัญญา
คือการปรับความหลงมาเป็นการเห็นแจ้ง
สรุปได้ว่า เมื่อหลง...ก็คือมนุษย์เรา
เมื่อเห็นแจ้ง...ก็คือพระพุทธเจ้า


“ปารมิตา”
นี่ก็เป็นคำทับศัพท์ ถ้าเป็นภาษาเราก็คือ
“ข้ามไปฝั่งโน้น”

พุทธศาสนาถือว่า โลกที่เราอยู่นี้
เป็นโลกที่เราหลงอยู่
ไม่มีความอิสระ
คือ ฝั่งนี้
ส่วนโลกในอุดมคติ คือ
โลกที่เห็นแจ้ง
มีความอิสระ
คือ ฝั่งโน้น
 ฉะนั้น ที่ว่าฝั่งโน้น หรือข้ามไปฝั่งโน้น
ก็คือ....ความสำเร็จในการบรรลุ
เป็นพระพุทธเจ้านั่นเอง

๒ จากทฤษฎีไปถึงปฎิบัติ

๒ จากทฤษฎีไปถึงปฎิบัติ

“อวโลกิตะ” มีความหมายว่า การเพ่ง
“อิศวร” มีความหมายว่า อิสระ
 
อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์
                ซึ่งเพ่งเห็นจิตใจของคนได้โดยอิสระ ปลดเปลื้องความทุกข์ทางร่างกายของพวกเรา
รวมทั้งความทุกข์ทางจิตใจ
“ได้ปฎิบัติถึงซึ้งแล้วซึ่งปารมิตา”
นั่นหมายความว่า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ปฎิบัติตามศาสนปัญญา
ถึงซึ่งความลึกซึ้งแล้ว

พระโพธิสัตว์ท่านไม่เพียงแต่ได้เห็นได้ยินด้วยตาแห่งจิต
และหูแห่งจิตเจนจัดในปรัชญาปัญญา  
ยังได้ปฎิบัติศาสนปัญญานี้อย่างลึกซึ้ง   
หมายถึงการเข้าถึงอย่างสุดซึ้งและเยี่ยมยอด
ปัญญา นี้ก็คือ
การเพ่งเห็นความเป็นศูนย์ของสรรพสิ่ง
ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องศึกษาให้มากคือคำว่า“ปฎิบัติ”

พระอาจารย์องค์หนึ่ง กล่าวว่า “ถ้าเห็นว่า ที่อาตมาพูดนั้นเป็นเรื่องไม่จริง
ท่านจงไปทราบจากการปฎิบัติและการบรรลุ”

ฉะนั้น การอ่านพระสูตรนี้
ไม่เพียงแต่อ่านด้วยใจ
จะต้องอ่านด้วยกาย
เพราะเราไม่เพียงแต่จะทราบ
ปรัชญาของปัญญาเท่านั้น
แต่เราจะต้องปฎิบัติปัญญานี้
ในทางพระศาสนาด้วย

๓ รูปคือความศูนย์

๓ รูปคือความศูนย์

คำว่า “ศูนย์” ในพระสูตรนี้ไม่ใช่ความศูนย์สิ้นว่างเปล่า
ไม่ใช่ความไม่มีอะไร

แต่เป็นคำที่พระสูตรนี้ใช้แสดงความหมายอย่างหนึ่ง
นี่ก็คือเรื่อง “เหตุปัจจัย”เหตุปัจจัย มีความสำคัญมากในเรื่องความศูนย์
ถ้ายังไม่ทราบความหมายของเหตุปัจจัย        
ก็ไม่อาจจะทราบความหมายของความศูนย์ได้
พระศาสดาทรงพบ “สรรพสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัย”ซึ่งเป็นสัจธรรมที่เหนือธรรมดา
เหตุผลของปัจจัย ไม่ใช่คิดขึ้นด้วยพระองค์
แต่ทรงค้นพบเหตุปัจจัย
เมื่อทรงเห็นเหตุปัจจัยแล้ว
ก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทันที
และการนำเอาเรื่องเหตุปัจจัยมาสั่งสอน
แก่มหาชนนั้น ก็คือ พระพุทธศาสนา


เหตุปัจจัย ก็คือ
ความสัมพันธ์ในระหว่างเหตุกับปัจจัยและผล
เหตุ คือสาเหตุเป็นพลังที่ทำให้เกิดผลโดยตรง
ปัจจัย เป็นสิ่งช่วยเหตุ เป็นพลังที่ทำให้เกิดผลโดยทางอ้อม
ตัวอย่างเช่น เมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งเป็นเหตุ
ถ้าหากไปวางไว้บนโต๊ะ
จะนานเท่าใด
ก็ยังคงเป็นข้าวเปลือก
แต่ถ้านำไปปลูกไว้ที่ดิน
ประกอบด้วยมีฝน น้ำค้าง แสงแดด ปุ๋ย
ซึ่งเป็นปัจจัย เมล็ดข้าวเปลือกนี้
ก็จะกลายเป็นรวงข้าว
นี่คือความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุปัจจัยและผล
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดเหตุปัจจัยนั้น
โลกของเราซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยการรวมตัวของจิตกับรูปอันเป็นขันธ์ห้า นั้น
ไม่มีสิ่งใดที่ยั่งยืน เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย

ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
อนิจจัง สังขารา

๔ ชีวิตอันไม่สิ้นสุด

๔ ชีวิตอันไม่สิ้นสุด

มีท่านผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า...........
ถ้าเห็นรูปเป็นความศูนย์ ก็จะเป็นมหาสติ
ถ้าเห็นความศูนย์เป็นรูป ก็จะเป็นมหากรุณา

สรรพสิ่งมีขึ้นด้วยขันธ์ ๕ ล้วนเป็นศูนย์
กล่าวคือ ทุกสิ่งเป็นลักษณะแห่งความศูนย์
เพราะวัตถุที่มีรูปร่างที่เห็นด้วยตา
และจิตใจอันไม่มีรูปร่างที่ไม่สามารถเห็นด้วยตา
ซึ่งได้รวมตัวกันเป็นการมีอยู่ของทุกสิ่งในโลกนี้
ล้วนเป็นลักษณะของความศูนย์

ด้วยเหตุที่ “อยู่ในสภาพแห่งความศูนย์” 


ฉะนั้น แม้จะกล่าวว่ามีการเกิด
แต่ก็ไม่มีอะไรที่เป็นของใหม่เกิดขึ้น
แม้จะว่า ดับ ก็ไม่ใช่หมายความว่า
ทุกๆ สิ่งกลายเป็นไม่มีอยู่ในโลกเรานี้
แม้จะมีสิ่งที่มีความมัวหมอง
มีความผ่องแผ้ว มีการเพิ่ม มีการลด
แต่ก็เป็นการเกิดขึ้นอย่างธรรมดา
ซึ่งมองด้วยความลำเอียง
จึงเห็นว่ามีความแตกต่างอยู่ก่อนแล้ว
ถ้าไปตั้งอยู่บนที่สูงอีกชั้นหนึ่งแล้วมองดูโดยทั่วไป
คือยืนอยู่บนสิ่งทั้งหลายทั้งเวลาและขอบเขต
ใช้ตาแห่งจิตอันแท้จริงมองดูไป
 

ก็จะรู้สึกว่า......
ทุกสิ่งไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ
ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่ม ไม่ลด
การปฏิเสธที่ว่านี้ มีเพียง ๖ ประการ
ความจริงมันมากกว่า ๖
แต่ใช้ ๖ มาเป็นตัวแทน
เพราะถ้าเรารู้จักคำว่า “ไม่” คำเดียว
ก็จะทราบถึงความ “ไม่” ของทุกสิ่งแล้ว

๕ เห็นแจ้งในความศูนย์

๕ เห็นแจ้งในความศูนย์

ทุกสิ่งในโลกเรานี้
ซึ่งเกิดโดยเหตุปัจจัยนั้น
ล้วนเป็นความศูนย์
วัตถุทุกอย่าง กิจกรรมทุกสิ่ง
ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยนั้น
มีอยู่ได้ก็โดยความสัมพันธ์ซึ่งกัน
ฉะนั้น จึงเป็น ความศูนย์


๖ เห็นแจ้งในเหตุปัจจัย

๖ เห็นแจ้งในเหตุปัจจัย

เหตุปัจจัย ๑๒ ประการ
(ปฎิจจสมุปบาท)

ในพระสูตรนี้ ไม่ได้พูดถึง
ชื่อแต่ละชื่อของเหตุปัจจัย ๑๒ ประการ
เพียงแต่เริ่มด้วยอวิชชา
แล้วก็สรุปว่าจนถึงความแก่ ความตาย
และว่าเป็นการไม่มีสิ่งเหล่านี้
กล่าวตามปัญญาแห่งความศูนย์
ทุกสิ่งทุกอย่างของโลกในทางวัตถุนิยม
ย่อมเป็นศูนย์
และแม้.....สัจธรรมที่เห็นแจ้งด้วยจิตนิยม
ก็เป็นศูนย์เช่นกัน
 
ไม่มีอวิชชา
กระทั่งไม่มีความแก่ ความตาย
ก็คือการอธิบายเหตุปัจจัย ๑๒ ประการ
ว่าเป็นศูนย์
พระองค์ยังตรัสไว้ว่า.........
อยากทราบเหตุในอดีต ดูผลที่ได้รับในปัจจุบัน
อยากรู้ผลในอนาคต ดูเหตุในปัจจุบัน

๗ สัมมาทิฐิ ๔ ประการ

๗ สัมมาทิฐิ ๔ ประการ

มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่น่ารักอย่างยิ่ง
ปากพูดได้งดงามว่า.....
ฉันวางปล่อยมันแล้ว ฉันปลงตกแล้ว
แต่ความจริง.....
ปล่อยวางไม่ได้ง่ายๆ ปลงตกไม่ได้ง่ายๆ เช่นกัน
ในพระสูตรกล่าวว่า......
“การเดินทางไปยังนิพพาน”
จะต้องเลี่ยงการเอนเอียงอยู่สองทาง
คือ (๑) ทางที่จมอยู่ในความร่าเริง
และ (๒) ทางจมอยู่ในทุกกรกิริยา
ทางสายกลางของทุกกรกิริยาและร่าเริงนี้
คือทางที่เข้าถึง “นิพพาน”

เราทุกคนต่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ยึดมั่นในความไม่มีตัวตนมุ่งเดินไปตามทางที่ใหญ่
ด้วยความซื่อสัตย์
ด้วยความศรัทธา
ก้าวไปเรื่อยๆ
ทุกๆ วัน
ก็จะถึงได้

๘ ไม่มีอะไรจะพึงยึดมั่น

๘ ไม่มีอะไรจะพึงยึดมั่น

“...ไม่มีสติ
และก็ไม่มีการได้อะไร
เพราะไม่มีอะไรจะได้...”
สามประโยคนี้ เป็นคำพูดง่ายๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง




สรรพสิ่งเพียงแต่เป็น “สภาพแห่งความศูนย์”ขันธ์ ๕ ไม่มี      
อายตนะ ๑๒ ไม่มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มี
เหตุปัจจัย ๑๒ ไม่มี
อริยสัจ ๔ ไม่มี
ดูเหมือนว่า เรามีความเข้าใจใน “สรรพสิ่งเป็นศูนย์” แล้ว



เมื่อเข้าใจหลักธรรมของศูนย์แล้วก็ถือว่า ได้ปัญญาแห่งพุทธในทันใดนั้นเราก็จะถูกกักอยู่ใน ปัญญาปัญญา เราไม่ควรจะมีอยู่ เพราะไม่ใช่ปัญญาถ่ายเดียว
ถ้าเข้าใจเช่นว่า..กลายเป็นมีการได้
แม้แต่บุญวาสนาที่ไม่มีตัวตน ก็จะกลายเป็นการมีแต่ความจริงมันไม่มีผล
ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า “ไม่มีสติ และก็ไม่มีการได้อะไร”

๙ ไม่มีความสะดุ้งกลัว

๙ ไม่มีความสะดุ้งกลัว

สรรพสิ่งเป็นศูนย์ ไม่ใช่ไม่มีอะไร แต่เป็นการสะสาง เอาสิ่งที่ไม่เป็นเรื่อง เรื่องเบ็ดเตล็ดออกเสียให้หมดจากจิตเรา ในสมองเรา ถูกชำระให้สะอาด จิตเราก็ถูกชำระให้สะอาด เช่นนี้ก็ใช้ได้แล้ว
ได้เห็น แต่เหมือนกับไม่ได้เห็น คือ ดวงจันทร์ในน้ำ สิ่งซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ย่อมเหมือนกับดวงจันทร์ในน้ำ ดูอย่างผิวเผิน...รู้สึกว่ามีดวงจันทร์ แต่ความจริงมันเป็นสิ่งไม่มี นี่คือการปฎิเสธต่อสรรพสิ่งที่เรากล่าวมา
เพิ่มคำอธิบายภาพ
ในพุทธศาสนา...
ชีวิตของโพธิสัตว์ เป็นอุดมการณ์ของชีวิตคน แสดงออกโดยสังคมวัตถุ ๔ คือ ทาน, ปิยวาจา, อัตถจริยา และสมานัตตา
....ทาน.... การให้ทรัพย์สินแก่คนอื่นอันเป็นการช่วยเหลือ
....ปิยวาจา.... การพูดที่เต็มไปด้วยความรักความเมตตา
....อัตถจริยา.... การใช้ความฉลาด กล่อมเกลาให้คนอื่นมีความประพฤติดี มีประโยชน์ต่อส่วนรวม
....สมานัตตา.... การปฏิบัติตนให้เหมาะสมสม่ำเสมอ วางตัวได้ถูกต้อง

...สรุปได้ว่า... เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนอื่น
ฉะนั้น ทางแห่งโพธิสัตว์ที่ว่า....ปารมิตา ๖ นั้น ที่ ๑ ก็คือ ทานปารมิตา
การให้ทาน เป็นมารดาที่จะให้กำเนิดแก่ปารมิตาทั้ง ๕ คือ ศีล, ขันติ, วิริยะ, สมาธิ, ปัญญา
....ทาน.... การละความโลภ ให้ทานผู้อื่นด้วยความสงสาร
....ศีล.... เป็นอยู่ตามระเบียบแบบแผน เป็นการกระทำตามศีลธรรม
....ขันติ.... ความอดกลั้น เป็นความถ่อมตน ตรงข้ามความเย่อหยิ่ง แต่ไม่ใช่ความกลัว
....สมาธิ.... ให้จิตใจสงบ
....ปัญญา.... พุทธิปัญญาเข้าถึงสรรพธรรมอย่างถ่องแท้

ความวิปลาสก็ตาม ความเพ้อฝันก็ตาม คือความหลงผิดของเรา ฉะนั้น การละเสียซึ่งความวิปลาสความเพ้อฝัน ก็คือการกำจัดความหลงผิด
นิพพาน ในภาษาสันสกฤต คือ การเป่าให้ดับ นี่คือการเป่าจิตที่หลงให้ดับ เข้าเขตที่เป็นสุข นิพพาน
แม้จะแปลว่า ไปเกิด แต่ไม่ใช่หมายความว่า ตาย
คนสามัญมักนำคำว่า ไปเกิด กับ ความตาย มาพูดปะปนกัน ความจริงไปเกิดไม่ใช่ความตาย

พระอาจารย์โบราณได้กล่าวว่า...
“ไปเกิดนั้น มีที่ไปเกิดจริง พุทธธรรมไม่ได้สอนให้คนตาย แต่สอนธรรมที่ไม่ตาย เป็นการสอนที่ไปเกิดสุขาวดี จึงเป็นพุทธธรรม”เหตุนี้...ไปเกิด คือไปเกิดเป็นพระพุทธเจ้า สำเร็จเป็นพุทธ คือการได้ชีวิตอันไม่มีที่สิ้นสุด

พระสูตรกล่าวว่า “ผู้มีปัญญาอันเลิศของโพธิสัตว์ แม้แต่ที่สุดแห่งความเวียนว่ายตายเกิด ย่อมทำประโยชน์ให้แก่สัตว์โลก และไม่คิดจะเข้าสู่นิพพาน”

๑๐ นี่เป็นสัจจ์ ไม่มีพลาด

๑๐ นี่เป็นสัจจ์ ไม่มีพลาด

สรรพสัตว์โลก
ต่างมีธาตุที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้
และไม่มีเพียงธาตุจะเป็นพระพุทธเจ้าได้เท่านั้น
ความจริงก็คือเป็นพุทธอยู่แล้ว
แต่เนื่องจากตนเองไม่ทราบว่าตนเองเป็นพุทธ
จึงต้องตกเป็นสามัญชนอยู่ตลอดเวลา


๑๑ มนตร์แห่งชีวิต

๑๑ มนตร์แห่งชีวิต

“มนตร์” เรามักจะคิดไปถึงเรื่องคาถาเวทมนตร์
แต่มนตร์ในพุทธศาสนาคือ
“คำพูดที่แท้จริง”

 
มหาศักดามนตร์: มีความศักด์สิทธิ์ ไม่ใช่ความรู้สามัญซึ่งเราจะเข้าใจได้ เป็นขอบเขตของพระพุทธเจ้า
มหาวิทยามนตร์: เป็นแสงสว่าง มีแต่คำจริงของปัญญาเท่านั้น ที่เป็นมหาวิชชามีแสงสว่าง เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้า
อนุตตรมนตร์:  ไม่มีมนตร์ใดๆ ที่จะสูงไปกว่ามนตร์นี้
อสมสมมนตร์: ไม่มีมนตร์ใดที่จะเทียบเคียงกับมนตร์นี้ได้

รวมความได้ว่า...มนตร์นี้เป็นมนตร์ที่ยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรจะเทียบได้ เป็นบุญวาสนาที่เป็นอจินไตย ไม่ว่า นิกายใด ล้วนเป็นพุทธธรรม แต่ถ้าเราไม่ได้ฝึกฝนพุทธปัญญา ดังที่พระอวโลกิเตศวรปฎิบัติอยู่โดยจริงจัง ความทุกข์ของตนเองและความทุกข์ของผู้อื่นก็จะหลุดพ้นไปไม่ได้ เป็นความจริงที่ไม่มีอะไรจะสงสัย เราจำต้องเกิดศรัทธา และปฎิบัติตามอย่างจริงจัง

๑๒ ธรรมอันลึกซึ้งที่เปิดเผย

 








๑๒ ธรรมอันลึกซึ้งที่เปิดเผย

“คติ คติ ปราคติ ปราสังคติ โพธิสวาหะ”
“ตนเองเห็นแจ้งไปยังฝั่งโน้น
คนอื่นก็เห็นแจ้งไปยังฝั่งโน้น
ให้ทุกคนไปยังฝั่งโน้น
จากนี้สำเร็จในมรรคแห่งความตรัสรู้”